งบประมาณแผ่นดิน





          งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔
(ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนที่ 60 ก ลงวันที่ 28 กันยายน 2553)
ช่วงเวลาที่ควรจะมีการเฝ้าจับตามองของประชาชนทั้งแผ่นดินว่าเงินรายได้ทั้งหมดของรัฐนั้นได้มีการนำไปใช้จ่ายอย่างถูกต้องตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลหรือไม่?
และเงินทั้งหมดก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนหรือไม่?

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้ตั้งเป็นจำนวน รวมทั้งสิ้น ๒,๐๗๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท จำแนกเป็นรายจ่ายตามที่จะระบุต่อไปในพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ งบประมาณรายจ่ายงบกลางในความควบคุมของกระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๒๖๕,๗๖๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท........
มาตรา ๕ งบประมาณรายจ่ายของสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานในกำกับให้ตั้งเป็นจำนวน ๒๔,๓๕๘,๘๑๒,๑๐๐ บาท........
มาตรา ๖ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงกลาโหมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๑๖๘,๕๐๑,๘๒๘,๓๐๐ บาท........
มาตรา ๗ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการคลังและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๒๐๘,๘๙๕,๙๐๕,๒๐๐ บาท........
มาตรา ๘ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการต่างประเทศ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๗,๔๖๙,๓๑๑,๐๐๐ บาท........
มาตรา ๙ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ตั้งเป็นจำนวน ๗,๐๑๗,๕๓๓,๑๐๐ บาท........
มาตรา ๑๐ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๙,๗๕๖,๓๓๐,๓๐๐ บาท........
มาตรา ๑๑ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานในกำกับให้ตั้งเป็นจำนวน ๗๓,๙๑๓,๕๗๗,๓๐๐ บาท........
มาตรา ๑๒ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงคมนาคม ให้ตั้งเป็นจำนวน ๘๐,๓๕๔,๐๐๒,๒๐๐ บาท........
มาตรา ๑๓ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๒๒,๙๓๖,๗๙๓,๐๐๐ บาท........
มาตรา ๑๔ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๔,๔๐๐,๑๐๑,๘๐๐ บาท........
มาตรา ๑๕ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงพลังงานและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๒,๐๑๐,๔๔๘,๙๐๐ บาท........
มาตรา ๑๖ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๖,๘๙๙,๒๒๖,๑๐๐ บาท........
มาตรา ๑๗ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๒๓๐,๗๘๑,๒๖๘,๖๐๐ บาท........
มาตรา ๑๘ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงยุติธรรม ให้ตั้งเป็นจำนวน ๑๖,๘๒๓,๗๓๘,๒๐๐ บาท........
มาตรา ๑๙ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงแรงงาน ให้ตั้งเป็นจำนวน ๒๘,๔๘๘,๕๖๘,๖๐๐ บาท........
มาตรา ๒๐ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงวัฒนธรรมและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๕,๑๑๙,๕๘๔,๑๐๐ บาท........
มาตรา ๒๑ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๘,๗๔๖,๗๐๔,๕๐๐ บาท........
มาตรา ๒๒ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๓๙๑,๑๓๑,๘๗๙,๖๐๐ บาท........
มาตรา ๒๓ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานในกำกับ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๘๖,๙๐๔,๕๑๐,๗๐๐ บาท........
มาตรา ๒๔ งบประมาณรายจ่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ตั้งเป็นจำนวน ๖,๓๖๘,๓๙๒,๐๐๐ บาท........
มาตรา ๒๕ งบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง ให้ตั้งเป็นจำนวน ๘๒,๕๗๕,๕๕๑,๘๐๐ บาท........
มาตรา ๒๖ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของรัฐสภา ให้ตั้งเป็นจำนวน ๙,๕๙๒,๘๖๔,๔๐๐ บาท........
มาตรา ๒๗ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานของศาล ให้ตั้งเป็นจำนวน ๑๔,๔๔๘,๒๐๘,๒๐๐ บาท........
มาตรา ๒๘ งบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ให้ตั้งเป็น จำนวน ๑๑,๔๐๓,๔๔๓,๒๐๐ บาท........
มาตรา ๒๙ งบประมาณรายจ่ายของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้ตั้งเป็นจำนวน ๑๘,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท........
มาตรา ๓๐ งบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ ให้ตั้งเป็นจำนวน ๑๑๕,๕๐๑,๔๘๙,๗๐๐ บาท........
มาตรา ๓๑ งบประมาณรายจ่ายของสภากาชาดไทย ให้ตั้งเป็นจำนวน ๓,๖๓๗,๓๒๑,๗๐๐ บาท........
มาตรา ๓๒ งบประมาณรายจ่ายของกองทุนและเงินทุนหมุนเวียน ให้ตั้งเป็น จำนวน ๑๒๗,๘๕๓,๕๔๓,๐๐๐ บาท........
มาตรา ๓๓ งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ในความควบคุมของกระทรวงการคลังให้ตั้งเป็นจำนวน ๓๐,๓๔๖,๐๖๒,๔๐๐ บาท.......

          ในที่นี้จะให้ดูเฉพาะยอดเงินที่แต่ละ กระทรวง ทบวง กรมและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ได้รับมาว่ามียอดเงินเป็นจำนวนเท่าไร? และโปรดใช้วิจารณญานของประชาชนอย่างท่านๆ พิจารณาดูว่าเหมาะสมหรือไม่? อย่างไร? แต่กรุณารับทราบไว้ด้วยว่า กฎหมายฉบับนี้ผ่านมติเห็นชอบของรัฐสภาเรียบร้อยแล้วก่อนที่จะออกประกาศในราชกิจจานเบกษา นั่นหมายความว่าประชาชนทุกท่านได้ร่วมในการให้ความเห็นชอบแล้วเช่นกัน ส่วนเรื่องที่ว่าใครจะมีข้อขัดข้องใจหรือไม่เห็นด้วย นั่นก็แสดงว่าท่านเป็นเสียงส่วนน้อยครับ หมดเวลาโต้แย้งแล้วครับผม


          เราจะมานั่งไล่รายละเอียดกันอีกครั้งว่าเงินงบประมาณแผ่นดินจำนวนมากไปอุทิศให้กับหน่วยงานใดมากที่สุด? และมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร? ขอร้องว่าอย่าเพิ่งมั่นใจในการตัดสินใจของ รัฐสภา ว่าจะถูกต้อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จักพรรคประชาธิปัตย์

เวลาที่ผ่านไป

คุณบุญรอด