บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2011

งบประมาณแผ่นดินปี 2555

รูปภาพ
ข่าวจาก นสพ.คมชัดลึก เมื่อ 8 พ.ย.54 ซึ่งน่าจะให้ความสนใจสักนิดเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 แน่อนล่ะว่าเป็นการใช้จ่ายเงินภาษีของเราท่านท้งหลายโดยรัฐบาล ส่วนที่ว่าจะเหมาะสมหรือไม่? ขึ้นอยู่กับวิจารณญานของแต่ละท่าน ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตามที่ สภาผู้แทนราษฎร ได้บรรจุวาระพิจารณาร่างพรบ.รายจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2555 ซึ่งมีวงเงิน 2,380,000 ล้านบาท และจะพิจารณาในวันที่ 9-10 พ.ย.นี้ โดยงบประมาณในปีนี้ถือว่า เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.7 จากงบประมาณ ปี 2554 ซึ่งจากการตรวจสอบงบประมาณรายงายจ่าย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการบริหารและจัดการน้ำท่วม พบว่า มีอยู่ในหลายส่วนงาน อาทิ ภายใต้ ยุทธศาสตร์สร้างสร้างรากฐานการพัฒนาที่สมดุลสู่สังคมที่มีวงเงินที่ใช้ 475,062.6 ล้านบาท โดยเป็นส่วนของแผนงานส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ วงเงิน 45,268.6 ล้านบาท และงบประมาณ เพื่อนำไปใช้เยียวยา ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย ในด้านต่างๆ อย่างบูรณาการ จำนวน 120,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ในส่วนของยุทธศาสตร์การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทีมีกำหนดวงเงินไว้ 45,148.9

เส้นทางสู่ศักดิ์ศรี

รูปภาพ
ในช่วงเวลาระหว่างที่รับราชการอยู่นั้นไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายเพียงประการเดียวเท่านั้น เพราะ ความคิดยังคงเป็นสิทธิของเราโดยสมบูรณ์เป็นโลกส่วนตัวที่ไม่มีใครมาบงการได้ ดังนั้นความคิดที่ขัดแย้งกับบางคำสั่งที่ได้รับมาจึงเกิดขึ้นในบางโอกาส ซึ่งก็เป็นเพียงความคิดไม่ใช่การขัดแย้งด้วยการกระทำ ความคิดเราจึงมีเสรีภาพเต็มที่ทำให้มีโอกาสได้ใช้วิจารณญานของตนเองในการหาเหตุผลให้กับเรื่องที่ไร้เหตุผล หาคำตอบให้กับความอยุติธรรมหลากหลายที่เกิดขึ้นรอบตัว หาคำตอบให้กับความประพฤติผิดหลากหลายทั้งทางอาญา ทางวินัยและทางสังคม ที่ผู้กระทำผิดไม่ต้องได้รับโทษ หลายเรื่องที่มองเห็นก็ไม่สามารถหาคำตอบให้กับตัวเองได้ เพราะบางเรื่องนั้นจะมีผู้ตอบได้เพียงคนเดียวคือตัวของผู้ที่กระทำในเรื่องนั้นๆ และก็จะเป็นคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริงได้เฉพาะในใจไม่ใช่หลุดรอดมาจากปากของบุคคลนั้้นอย่างเด็ดขาด คุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์ ถูกลบออกจากหลักสูตรการศึกษาของประชาชนรุ่นหลังอย่างหมดเยื่อใยตามยุคสมัยที่มีแต่การแข่งขันในทุกเรื่อง แม้แต่เรื่องการศึกษาที่ต้องมีการสอบแข่งขันกันในทุกระดับ สังคมรอบด้านมีแต่การแข่งขัน

มองมุมกว้างอย่างง่าย

รูปภาพ
ยังคงเหลือเวลาอีกไม่กี่วันก็จะถึงวันชี้ชะตาประเทศโดยมือของคนไทยเองว่าจะผลักดันแนวทางการบริหารประเทศให้เป็นไปในทิศทางใด และในวันนี้ (26 มิ.ย.54) ก็เป็นวันที่เปิดให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนอกเขตตั้งแต่เวลา 08.00 - 15.00 น.เช่นเดียวกัน ซึ่งจำนวนยอดของผู้เข้าใช้สิทธิก็จะเป็นตัวชี้ให้รู้ถึงความคิดของผู้คนว่าคิดอย่างไรกับการเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะหากจำนวนผู้เข้าใช้สิทธิต่ำกว่าที่คาดไว้มากก็เป็นตัวสรุปผลในวันที่ 3 ได้ทันทีว่าไม่น่าจะออกมาดีนัก และก็อาจสรุปได้ว่า ประชาชนบางส่วนยังคงสงวนสิทธิในความนิ่งอยู่ต่อไปโดยไม่สนใจใยดีต่อการเมืองที่วุ่นวายไม่รู้จบ ในขณะที่บรรยากาศการหาเสียงก็ดำเนินไปตามวิธีการที่เคยทำกันมาแต่โบราณ ทั้งกลั่นแกล้ง รบกวนการหาเสียง ข่มขู่ผู้สมัคร ทำร้ายผู้สมัคร ฆ่าตัดตอนหัวคะแนน ทำลายป้ายคู่แข่ง (คงจะต้องรวมไปถึงการกระทำกับของตนเองด้วยอันเป็นวิถีทางการหาเสียงนอกระบบ) แต่ในจำนวนความผิดร้ายแรงถึงชีวิตบางหนก็มีการมุ่งร้ายต่อชีวิตด้วยสาเหตุอื่นๆ อีกด้วยแต่อาศัยช่วงเวลาเลือกตั้งมาปฏิบัติการเพื่อหวังผลในการเบี่ยงเบนประเด็นการตายนั่นเอง ทั้งที่ผู้ตายก็เป็นคนที่ถูกจ้องสังหารโด

รู้จักพรรคประชาธิปัตย์

รูปภาพ
พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[1] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา สัญลักษณ์ของพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่สอง ได้บัญญัติชื่อ "พรรคประชาธิปัตย" โดยมีความหมายว่า "ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย" หรือ "ประชาชนผู้ถืออำนาจอธิปไตย" และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Democrat Party โดยหมายจะให้เป็นพรรคของคนจน เช่นเดียวกับพรรคเดโมแครตของสหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ "ประชาธิปัตย์" ได้มีกลุ่มบุคคลพยายามจดทะเบียนชื่อพรรคก่อนหน้า ม.ร.ว.เสนีย์ แต่รวบรวมเสียงได้น้อยกว่า จึงจดทะเบียนไม่สำเร็จ[3] เนื่องจากในปีนั้น เพิ่งมีกฎหมายจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการออกมาเป็นครั้งแรก โดยที่ก่อนหน้านั้น สถานภาพพรรคการเมืองในประเทศไทยยังไม่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เพียงแต่กฎหมายให้การรับรองไว้เท่านั้น สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม

รู้จักพรรคเพื่อไทย

รูปภาพ
พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม สัญญลักษณ์เดิมขของพรรค สัญลักษณ์ของพรรค เครื่องหมายพรรคมีคำอธิบายว่า "การรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ" ขณะที่ภาพเครื่องหมายพรรค ภายใต้รูปสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรไทย "พ" สีขาวบนพื้นสีน้ำเงินกับแดง ล้อมด้วยกรอบสี่เหลี่ยมเส้นสีน้ำเงินและแดง โดยตัว "พ" สีขาว หมายถึง การรู้รักสามัคคีและรวมกันเ

ทางสายการเมือง

รูปภาพ
จากบรรดาหลักฐานทางโบราณคดีและบันทึกจากประวัติศาสตร์ เชื่อว่าความตื่นตัวในทางการเมืองของบ้านเราก่อกำเนิดขึ้นมาจากวิชาการและความรู้ที่ได้รับการบอกเล่ามาจากบรรดาชาวต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศเราตั้งแต่ยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากจุดเริ่มต้นด้วยการศึกษาภาษาต่างประเทศรวมไปถึงความรู้ในด้านอื่นๆ จากชาวต่างชาติ ซึ่งหลายคนก็ได้รับการแต่งตั้งให้มียศฐาบรรดาศักดิ์เป็นสิ่งตอบอทน ทำให้ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทั้งจากราชสำนัก ทั้งจากการประกอบธุรกิจส่วนตัวในการค้าขายกับต่างประเทศ จึงทำให้ มีฐานะทางสังคมสูงส่งกว่าคนไทยโดยทั่วไป ในยุคกลางของกรุงรัตนโกสินทร์ก็เริ่มมีการส่งคนในประเทศข้ามน้ำข้ามทะเลไปเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น ป็นการเริ่มต้นร่างแนวความคิดในระบอบการปกครองที่เป็นรูปแบบใหม่และกำลังระบาดหนักอยู่ในประเทศตะวันตกจากการลุกฮ์อของประชาชนเพื่อล้มล้างระบอบกษัคริย์ในหลายประเทศติดต่อกัน ความสับสนลังเลเกี่ยวกับระบอบการปกครองรูปแบบใหม่ๆ ก่อให้เกิดปัญหาติดตามมาหลายประการ จนมาถึงยุคสมัยของ คณะราษฎร กับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อันเป็นการเปิดตัวระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาในบ้านเราอย่าง

ถ้า...มองย้อนหลัง

รูปภาพ
ถ้า...ไม่ไปหยิบเอาใบแดงที่เขียนว่า ทบ.1 ติดมือขึ้นมาจากโหลอะลูมิเนียมใบนั้นในช่วงบ่ายอันร้อนระอุของต้นเดือนเมษายน พ.ศ.2520 เส้นทางของชีวิตก็คงเดินไปเป็นเส้นขนานกับวิถีชีวิตของวันนี้อย่างแน่นอน แต่ปัจจัยโดยพื้นฐานของเส้นทางชีวิตมนุษย์ในสังคมคือการไหลไปตามกระแสที่ควรจะเป็นไป .. จึงมีวันนี้ วันที่จำเป็นต้องปฏิว้ติเพื่อพลิกเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเองจากเส้นทางที่ควรจจะเป็นไป ให้วกกลับมาสู่เส้นทางที่เราวาดหวังเอาไว้ตั้งแต่ต้น ถึงแม้รู้ว่ามันคงสายเกินไปเสียแล้ว แต่ก็ยังคงต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นตามที่เราต้องการ มันเป็นสิ่งสุดท้ายที่ชีวิตนี้ต้องการมากที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด ถ้า...2 ตุลาคม 2550 ไม่ได้หันหลังก้าวเดินออกจากรั้วสีเขียวสลัดเครื่องแบบและภาระหน้าที่พ้นออกจากตัว ทุกอย่างคงผิดไปจากวันนี้อันเนื่่องมาจากสภาพของสังขารที่ไม่สามารถแบกรับภาระที่มีอยู่และเพิ่มมากขึ้น รวมถึงภาวะบีบคั้นทางจิตใจหลายเหตุผล วันคืนหลังจากนั้นคือความปลอดโปร่งในการดิ้นรนหลุดพ้นออกมาจาก ระเบียบวินัย กฎเกณฑ์ที่บีบรัดรอบด้าน ภาวะความเสื่อมถอยทางสังคมที่ลามเลียเข้ามาสู่สังคมทุกหนแห่ง ชักจูงความอยุติธรรม ความเห็นแ

ส 40105 วิชาประวัติศาสตร์ชั้น ม.6

รูปภาพ
         วันนี้อารมณ์ดีเลยเปิดหนังสือเรียนของลูกมาอ่านเล่นๆ เป็นเอกสารประกอบการเรียน วิชา ส 40105 ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อ่านแล้วก็นึกขึ้นมาได้เผื่อใครยังไม่เคยอ่านก็ลองอ่านดูในอีกแง่มุมหนึ่งของบันทึกจากประวัติศาสตร์ ที่เขียนและรวบรวมโดยบุคคลในวันนี้ ด้วยข้อจำกัดในการรับรู้และเผยแพร่ข่าวสาร ทำให้นักเรียนได้ซึมซับเนื้อหาตามที่ถูกกำหนดเท่านั้น ส่่วนความเป็นจริงนั้นเป็นเรื่องที่ต้องไปค้นหาเอง เชิญอ่านเพลินๆ ก็แล้วกัน          การปฏิวัติ พ.ศ. 2475 : การเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตยของไทย คำถามก่อนและหลังการปฏิวัติ 1. เมื่อพิจารณาจากสภาพการณ์ของไทยในสมัย พ.ศ. 2475 แล้ว ท่านคิดว่าการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ควรเกิดขึ้นหรือเป็นเรื่อง “ชิงสุกก่อนห่าม” 2. เหตุใดพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสละราชย์สมบัติ ใน พ.ศ. 2477 สภาพการณ์วันปฎิวัติ พ.ศ. 2475           เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ข้าราชการทหารและพลเรือนจำนวน 102 นายในนามของคณะราษฎร ได้ยึดอำนาจจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 โดยมีจุด

รัฐธรรมนูญฉบับแรก

รูปภาพ
          จากบทความของ รอง ศาสตราจารย์ ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ซึ่งบังเอิญไปอ่านเจอ ก็ขออนุญาตนำมาลงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาและใช้วิจารณญานของตนเองตามกำลังของสติปัญญา           เมื่อคณะราษฎรได้ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ใช้ปกครองอยู่เป็นเวลานานก็ได้สิ้นสุดลง และเกิดระบอบการปกครองใหม่ที่คณะราษฎรนำมาใช้ นั่นคือระบอบการปกครอง "ประชาธิปไตย แบบตะวันตกที่มีรัฐธรรมนูญ (Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ" และหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เพียง 3 วัน คณะราษฎรก็ได้นำ "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" ออกใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 ผู้ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยคือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งถือกันว่าเป็น "มันสมอง" ของคณะราษฎร เมื่อทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองสำเร็จแล้วคณะราษฎรก็ได้นำร่าง "พระร

อดีตและความทรงจำ

รูปภาพ
         อยากจะรำลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 7 ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย หลายครั้งหลายหนที่หยิบเอา พระราชหัตถเลขาฉบับนี้กลับมาอ่านทบทวนไปมาโดยไม่มีเหตุผลพอที่จะบอกกับตัวเองว่าต้องการค้นหาอะไร ? แต่ประการแรกที่พบคำตอบก็คือความขุ่นข้องหมองใจลึกๆ ในสถานการณ์ที่่เกิดขึ้นกับพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งของราชวงศ์จักรี ซึ่งจะมองลงไปในรายละเอียดอีกครั้งหลังจากอ่านจบแล้ว                                                                                                             ปปร.   บ้านโนล                                       แครนลี                                    ประเทศอังกฤษ         เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลัง ทหาร ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภาย ใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้น เพราะเข้าใจว่าพระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญตามแบบอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้การปกครองตามหลัก นั้น เพื่อให้ประชาราษฎรได้มีสิทธิที่จ

ชีวิตหลังความตาย

รูปภาพ
          วันดีคืนดีก็มีเมล์ส่งมาให้ดูจากผู้ไม่ประสงค์ออกนาม นัยว่าคงมีเจตนาจะข่มขวัญผู้อื่นตามประสาวัยรุ่นที่มีวี่แววจะเป็นโรคจิตประเภทหนึ่งในวันข้างหน้า เพราะภาพประเภทนี้ก็สามารถทำให้บางคนถึงกับช็อคได้ เนื่องจากมันหวาดเสียวเกินกว่าที่จะยอมรับ อีกเหตุผลที่สำคัญก็คือมันเป็นของจริง จากสภาพแวดล้อมของภาพแสดงว่าเป็นห้องชันสูตรศพของนิติเวช อาจจะเป็นการผ่าศพเพื่อพิสูจน์บาดแผลหรือค้นหาสาเหตุการตายอันผิดปกติ อันเนื่องมาจากเหตุอื่นๆ หรือมีเหตุอันควรสงสัย ที่ไม่ใช่การตายโดยธรรมชาติ           แต่ที่เอามาลงให้ดูนี่ก็เพื่อให้พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงของชีวิตหลังความตายว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าหวาดกลัวหรือหวาดเสียวแต่อย่างใด เนื่องจากผู้ตายย่อมไม่มีความรู้สึกใดๆ ต่อการกระทำของผู้อื่นอีกต่อไปแล้ว และอดีตของผู้เสียชีวิตก็ไม่มีผู้ใดสนใจใคร่รู้ เจ้าหน้าที่ต้องการเพียงค้นหาสาเหตุการตาย โดยไม่ใส่ใจว่าผู้ตายจะเป็นคนจรจัดข้างถนน นักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถ นักการเมืองผู้มีอิทธิพลสูงส่ง หรือ มหาเศรษฐีร้อยล้านหมื่่นล้าน กฎหมายย่อมกำหนดให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันเสมอมา           ด้วยความเค

หลงทาง

รูปภาพ
          เพิ่งจะสังเกตุเห็นว่าเคยเขียนบทความลงในบล็อคนี้ครั้งสุดท้ายตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วโน่น ทั้งๆ ที่เปิดดูทุกวัน ซึ่งแน่นอนว่าในตอนที่เปิดดูนั้นก็เป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนรูปแบบ การตกแต่งองค์ประกอบและหน้าตาของบล็อคจนไม่มีเวลามาเขียนบทความลงในนี้ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือเปิดใช้งานบล็อคไว้หลายหน้าเลยต้องวนเวียนเขียนไปเรื่อยๆ บางบล็อคก็บ่อยหน่อย บางบล็อคก็มีแขกมาเยี่ยมเยียนมาก ก็ต้องปรับปรุงบทความให้ทันสมัยอยู่เสมอ           แต่ในที่สุดก็ต้องมาเริ่มเขียนบทความลงเสียทีหลังจากที่ทำการปรับปรุงจนเป็นที่น่าพอใจแล้ว(เฉพาะในช่วงนี้เท่านั้น) แต่ก็ต้องเกิดอาการตันไปหมดไม่รู้ว่าจะเขียนเกี่ยวกับอะไร เนื่องจากเป็นข้อเขียนที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เรื่องราวบางเรื่องที่เป็นส่วนตัวก็อยากจะให้อยู่เป็นส่วนตัว และก็ไม่อยากจะทิ้งข่าวสารอันเป็นเท็จไว้ให้คนรุ่นหลังจดจำเหมือนกับที่หลายๆ คนกำลังทำอยู่อย่างต่อเนื่อง ด้วยการบิดเบือนข้อมูล ความเป็นจริงเพื่อเปลี่ยนประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้อย่างถูกต้องแล้วให้กลับกลายเป็นข้อสงสัย ข้อพิจารณาของบุคคลอื่่นในอนาคต            เทคโนโลยี สามารถสร้างประโยชน์ให