รู้จักพรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทย


พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม


สัญญลักษณ์เดิมขของพรรค

สัญลักษณ์ของพรรค

เครื่องหมายพรรคมีคำอธิบายว่า "การรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ" ขณะที่ภาพเครื่องหมายพรรค ภายใต้รูปสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรไทย "พ" สีขาวบนพื้นสีน้ำเงินกับแดง ล้อมด้วยกรอบสี่เหลี่ยมเส้นสีน้ำเงินและแดง โดยตัว "พ" สีขาว หมายถึง การรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ สีน้ำเงินกับสีแดง (พื้น) หมายถึง ความมุ่งมั่นรวมเอาคนไทยจากทุกภาคส่วนมาระดมสติปัญญา
การออกแบบสัญลักษณ์พรรคเพื่อไทยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างชัดเจนกับสัญลักษณ์ของพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน ด้วยการใช้สีของธงไตรรงค์ และอักษร "พ" ที่คล้ายกับสัญลักษณ์พรรคพลังประชาชน และอักษร "ท" ในสัญลักษณ์พรรคไทยรักไทย ทั้งนี้เพื่อสื่อสารให้กับผู้ชมทราบว่าพรรคเพื่อไทยเป็นการสืบทอดเจตนารมณ์ของพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน

ยุค ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค

ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคนัดพิเศษ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2551 มีมติให้ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช เป็นหัวหน้าพรรค นางสาวสุณีย์ เหลืองวิจิตร เป็นเลขาธิการพรรค นายศักดา นพสิทธิ์ เป็นโฆษกพรรค และ นายนิรันดร์ นาเมืองรักษ์ เป็นผู้อำนวยการพรรค
ต่อมา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ดร.สุชาติได้ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรค โดยให้เหตุผลว่า ขณะนี้ บุคคลที่มีประสบการณ์ทางการเมืองจำนวนมาก ได้เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรค ตนจึงต้องการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เหมาะสม เข้ารับตำแหน่งต่อไป นอกจากนี้ ตนก็ยังเป็นสมาชิกพรรคอยู่ ส่วนจะรับตำแหน่งอื่นภายในพรรคหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเพื่อนสมาชิก
อดีตสมาชิกพรรคพลังประชาชนเข้าร่วมพรรค

หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรคพลังประชาชน เมื่อวันที่ 2 ธันวาคมแล้ว ส.ส.และสมาชิกพรรคเกือบทั้งหมดได้ย้ายเข้าสังกัดพรรคเพื่อไทย ยกเว้นกลุ่มเพื่อนเนวิน ซึ่งภายหลังย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยในการยุบพรรคการเมืองครั้งนี้ได้ส่งผลให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

ยุคนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรค

จากนั้น เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม มีการประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 4/2551 ของพรรคขึ้น ที่อาคารที่ทำการพรรค โดยมีวาระสำคัญคือ การลงมติเลือกหัวหน้าพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ โดยในส่วนหัวหน้าพรรค มีการเสนอชื่อ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รักษาการรองหัวหน้าพรรค เพียงรายชื่อเดียว นายยงยุทธจึงได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคไปอย่างไม่มีคู่แข่ง ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้รับการคาดหมายว่าจะขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่นั้น ที่ประชุมมีมติให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค

คณะกรรมการบริหารพรรค

ชุดที่ 4 (15 กันยายน พ.ศ. 2553 - ปัจจุบัน)

1 ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรค
2 พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รองหัวหน้าพรรค
3 ปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรค
4 ประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
5 กิติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
6 พล.ท.มะ โพธิ์งาม รองหัวหน้าพรรค
7 วิชาญ มีนชัยนันท์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
8 สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
9 ทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
10 วิทยา บุรณศิริ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
11 สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
12 พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
13 จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รองหัวหน้าพรรค
14 คณวัฒน์ วศินสังวร รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
15 พงศกร อรรณนพพร รองหัวหน้าพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
16 สุพล ฟองงาม เลขาธิการพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
17 ชวลิต วิชยสุทธิ์ รองเลขาธิการพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
18 ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ เหรัญญิกพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
19 พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค
20 วัฒนา เตียงกูล นายทะเบียนพรรค (ลาออก เม.ย. 2554)
21 วรวีร์ มะกูดี กรรมการบริหารพรรค

ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/



นโยบายหลักของพรรค

ประเทศไทยของเราในวันนี้ กำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์อย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อน ดังที่ปรากฏอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเมืองการปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศไม่พัฒนาไปในแนวทางที่ควรจะเป็น ดังนั้นในวันนี้ประเทศไทยของเรา ต้องได้รับการฟื้นฟูดูแลอย่างทุ่มเทเอาใจใส่ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างเร่งด่วน โดยการเร่งปฏิรูปในทุกด้าน ด้วยแนวคิดและนโยบายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลแห่งความเป็นจริง ด้วยความรอบรู้ และด้วยสติปัญญา ที่มีความเข้าใจในปัญหาต่างๆ อย่างแท้จริง พรรคเพื่อไทยจึงรับอาสาพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน เข้ามาแก้ไขวิกฤตการณ์ และฟื้นฟูประเทศ ด้วยแนวนโยบายของพรรคที่เน้นความสำคัญในประเด็นต่อไปนี้

แนวคิดใหม่ ปรับแนวคิดใหม่ทั้งในด้านเป้าหมาย กระบวนการ และวิธีการในการพัฒนาประเทศ เน้นการบริหารเชิงกลยุทธ์ในระดับชาติ โดยใช้สติปัญญาและความรู้ที่สั่งสมมายาวนานอย่างต่อเนื่อง ร่วมกับวิสัยทัศน์ที่มองโลกจากความเป็นจริงเป็นพื้นฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนองคาพยพทุกส่วนในสังคม ให้ก้าวหน้าไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างสมดุลและยั่งยืน

ปรับเปลี่ยนการบริหาร ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกลไกการทำงานของภาครัฐ ให้เกิดประสิทธิภาพ ปรับปรุงทัศนคติ วิธีคิด และวิธีปฏิบัติงานของข้าราชการ รวมทั้งเปลี่ยนแปลงบทบาทของภาครัฐ จากการควบคุมมาเป็นการสนับสนุน และเอื้ออำนวยความสะดวกแก่ภาคเอกชน ให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนในด้านบริการสาธารณะ รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นการส่วนรวม เน้นการพัฒนาและปฏิรูปการเมืองอย่างต่อเนื่อง

ปฏิรูปภาคเอกชน ส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปกิจการในภาคเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านการผลิต ทั้งในส่วนของเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเกษตรพาณิชยกรรม และการให้บริการ โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพสูง และมีประสิทธิผลอย่างแท้จริง ครอบคลุมกิจการธุรกิจทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ให้เกิดคุณภาพในระดับมาตรฐาน ที่จะแข่งขันในกรอบของการค้าเสรีที่เป็นธรรม อันจะนำไปสู่การกระจายความมั่งคั่งในส่วนต่างๆ โดยประสานพลังภาคเอกชนกับภาครัฐภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง

ฟื้นฟูสังคม ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถยืนหยัดได้ด้วยตนเอง เสริมสร้างจิตสำนึกแห่งการอยู่ร่วมกันด้วยความเกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมมือทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ส่งเสริมวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีจุดยืนทางความคิดเป็นของตนเอง และสามารถเลือกเอาข้อดีของกระแสโลกมาใช้ เพื่อให้ก่อประโยชน์กับสังคมไทยทุกด้าน

พัฒนาคุณภาพชีวิต เน้นการพัฒนามนุษย์ให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยผ่านกลไกของการปฏิรูปปรัชญาการศึกษา การสาธารณสุข สวัสดิการสังคม ภาษี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ การกระจายอำนาจการปกครอง การมีสิทธิมีเสียงและการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน ในการกำหนดวิถีชีวิตและกระบวนการสร้างความผาสุกของตนเอง

สนับสนุนให้แต่ละกลุ่มของสังคม ใช้จุดเด่นจากลักษณะสังคมทั้งสามประเภท ที่เป็นแนวโน้มของโลกทั้งสังคมเกษตร สังคมอุตสาหกรรม และสังคมข้อมูลข่าวสาร มาผนึกกันอย่างกลมกลืน เพื่อก่อประโยชน์ให้กับสังคมไทย

พรรคเพื่อไทยจะใช้แนวคิดดังที่กล่าวมาเป็นพื้นฐานในการดำเนินนโยบาย ภายใต้กรอบภูมิปัญญาที่สั่งสมมาในประวัติศาสตร์ เพื่อฟื้นฟูและปฏิรูปประเทศไทยไปสู่การเป็นประชารัฐที่มีเกียรติและศักดิ์ศรี โดยมีระบอบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอันสมบูรณ์อย่างแท้จริง

ข้อมูลจาก http://www.ptp.or.th/default.aspx



เมื่อได้อ่านนโยบายหลักของพรรคแล้วก็จะเห็นว่าไม่ได้มีความแตกต่างกับนโยบายหลักๆ ของพรรคการเมืองอื่นสักเท่าไหร่นัก แต่นั่นเป็นเรื่องปกติธรรมดาอยู่แล้วเพราะนโยบายก็จะต้องดูสวยหรูส่วนที่ว่าจะทำได้สักแค่ไหน หรือทำไม่ได้ตามที่ฝันไว้เป็นตัวหนังสือ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และหากจะมีนโยบายอื่นใดแอบแฝงเพิ่มเติมอยู่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งเช่นกัน

หากใครติดตามพฤติกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องในช่วงตั้งแต่หลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 เป็นต้นมา ประกอบกับความระส่ำระสายของพรรคการเมืองใหญ่ๆ หลายพรรค รวมทั้ง พรรคไทยรักไทย ซึ่งพบวิบากกรรมมาจนเป็นพรรคพลังประชาชน ก็ยังหนีไม่พ้น แล้วมาถึงความต่อเนื่องจากวีรกรรมของคนเสื้อเหลืองในการไล่บดขยี้ธุรกรรมและบทบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีแบบไม่วางมือจนเป็นเหตุให้รัฐบาลสำรองต้องสลายตัวไปถึง 2 คณะ

เมื่อมาถึงยุคพรรคประชาธิปัตย์เข้ายึดครองเก้าอี้ฝ่ายบริหาร ก็เกิดวีรกรรมของคนเสื้อแดงขึ้นมาในทันทีด้วยพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ดุดัน และมีจุดหมายที่แน่นอนว่าต่อต้านเผด็จการทหารในการทำรัฐประหาร โดยลืมคิดไปว่า หลังการรัฐประหาร ประเทศไทยมีรัฐบาลของคนเสื้อแดงมาแล้วถึง 2 คณะ จากนั้นก็เป็นช่วงเวลาของวีรกรรมหลากหลายกรณี จนไม่อยาากจะให้ใช้คำว่าวีรชนกับศพที่เกิดจากการเข่นฆ่ากันเองของคนไทยด้วยการปลุกปั่นยุยงจากทรราชย์หน้าไหนทั้งสิ้น

เมื่อถึงวาระที่อำนาจกลับคืนไปอยู่ในมือของประชาชน เราจึงมีโอกาสที่จะพิสูจน์ตัวตนของเราว่าต้องการคนเช่นไรเข้าไปมีบทบาทเป็นตัวแทนของเราในสภาอันทรงเกียรติ หากเป็นการเลือกตั้งแบบเขตเราก็จะได้เห็นหน้าตาชัดเจนพอที่จะสรุปได้ว่า เอาหรือไม่เอา แต่กับระบบบัญชีรายชื่อ เป็นระบบที่ให้อำนาจแก่พรรคการเมืองในการเลือกสรรตัวบุคคลมาให้เราพิจารณา บางคนอาจไม่มีที่มาที่ไป บางคนอาจจะไม่ใช่คนดี บางคนอาจจะเป็นคนดี(ที่พรรคจำใจใส่ชื่อไว้เพื่อเรียกคะแนน) ตัวบุคคลเหล่านี้เองที่เป็นตัวเลือกให้เราได้มีโอกาสได้คิดทบทวนว่า เราพร้อมที่จะให้เกิดเหตุการณ์แบบใดขึ้นในบ้านเมืองและต้องการให้ประเทศเราเดินไปในเส้นทางใด อำนาจนั้นอยู่ในมือคุณ



ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จำนวน 125 รายชื่อ

1. น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2. นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
3. ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง
4. นายเสนาะ เทียนทอง
5. พล.ต.อ. ประชา พรหมนอก
6. นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7. นายปลอดประสพ สุรัสวดี
8. นายจตุพร พรหมพันธุ์
9. นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช

11. พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก
12. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13. นายบัณฑูรย์ สุภัควณิช
14. พ.อ. อภิวันท์ วิริยะชัย
15. นายสันติ พร้อมพัฒน์
16. พล.ต.อ. วิรุฬห์ ฟื้นแสน
17. พล.ต.ท. วิโรจน์ เปาอินทร์
18. นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
19. นายเหวง โตจิราการ
20. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล

21. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22. นายวัฒนา เมืองสุข
23. พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24. นายนิติภูมิ นวรัตน์
25. น.ส. ภูวนิดา คุณผลิน
26. นายสุนัย จุลพงศธร
27. นางรพิพรรณ พงษ์เรืองรอง
28. นายคณวัฒน์ วศินสังวร
29. นายอัสนี เชิดชัย
30. น.ส. สุณีย์ เหลืองวิจิตร

31. พ.ต. อณันย์ วัชโรทัย
32. นายวิรัช รัตนเศรษฐ
33. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34. นายนภินทร ศรีสรรพางค์
35. นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36. นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์
37. น.ส. สุนทรี ชัยวิรัตนะ
38. น.ส. ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39. นายสมพล เกยุราพันธุ์
40. นายพงศกร อรรณนพพร

41. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42. น.ส. ขัตติยา สวัสดิผล
43. นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
44. น.ส. กฤษณา สีหลักษณ์
45. นายเกียรติชัย ติรณศักดิกุล
46. นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
47. นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48. นายพายัพ ปั้นเกตุ
49. นางรังสิมา เจริญศิริ
50. ร.ศ. เชิดชัย ตันติศิรินทร์

51. นายกานต์ กัลป์ตินันท์
52. นายธนิก มาศรีพิทักษ์
53. นายพิชิต ชื่นบาน
54. นายก่อแก้ว พิกุลทอง
55. นายนิยม วรปัญญา
56. น.ส. จารุพรรณ กุลดิลก
57. นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
58. นายเวียง วรเชษฐ์
59. นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60. นายวิเชียร ขาวขำ

61. นายประวัฒน์ อุดตะโมต
62. นายดนุพร ปุณณกันต์
63. นายยุรนันท์ ภมรมนตรี
64. นางบุศริณธญ์ วรพัฒนานันน์
65. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์
66. นางอุดมรัตน์ อาภรณ์รัตน์
67. นายชวลิต วิชยสุทธิ์
68. นายธวัชชัย สุทธิบงกช
69. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์
70. นายสรรพภัญญู ศิริไปล์

71. นางมาลินี อินฉัตร
72. นายชินวัฒน์ หาบุญพาด
73. นายเอกธนัช อินทร์รอด
74. นายถิรชัย วุฒิธรรม
75. นายสมเกียรติ ศรลัมพ์
76. นายอับดุลเร๊ามาน อับดุลสมัด
77. นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์
78. นายกมล บันไดเพชร
79. นางฉวัวรรณ คลังแสง
80. นายโสภณ เพชรสว่าง

81. นายภิญโญ ตั๊นวิเศษ
82. นายสถิรพร นาคสุข
83. นายประแสง มงคลศิริ
84. นายสฤษฎ์ อึ้งอภินันท์
85. นายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์
86. นายเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล
87. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
88. นางรัตนาภรณ์ สมบูรณ์
89. นายธนาธร โล่ห์สุนทร
90. พล.ต.ต. ธวัช บุญเฟื่อง

91. พล.ต.ต. ไพฑูรย์ เชิดมณี
92. นายพูลสวัสดิ์ โหตระไวศยะ
93. นายประสพ บุษราคัม
94. นางปานทิพย์ คนสมบูรณ์
95. นายปิยะ อังกินันท์
96. นางปทิดา ตันติรัตนานนท์
97. นายประเกียรติ นาสิมมา
98. นายยุทธพงษ์ แสงศรี
99. นายวิบูลย์ แช่มชื่น
100. ร.ต.ท. เชาวรินธร์ ลัทธศักย์ศิริ

101. นายธนะรัชต์ วิเชียรรัตน์
102. นายสมบัติ เมทะนี
103. นายชัยวัฒน์ กุลศักดิ์วิมล
104. นายถนอม สมผล
105. นายธนกฤต ชะเอมน้อย
106. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์
107. นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล
108. นายวิม รุ่งวัฒนจินดา
109. นายสุเทพ สายทอง
110. พล.ต.ต. เกษม รัตนสุนทร

111. นายนิรันดร์ ด่านไพบูลย์
112. นายบัวสอน ประชามอญ
113. นายวัลลภ สุปริยศิลป์
114. นายเรวัต สิรินุกุล
115. นายพิทยา พุกกะมาน
116. นางพรรณี แสงสันต์
117. นายกล่ำคาน ปาทาน
118. นายไชยรัตน์ ไทยเจียมอารีย์
119. นายเหรียญชัย ลิขิตพฤกษ์
120. นายเรืองยุทธ์ ประสาทสวัสดิ์ศิริ

121. นายต่อพงษ์ ไชยสาสน์
122. นายชาญยุทธ เฮงตระกูล
123. พล.อ.อ. สุเมธ โพธิ์มณี
124. นายพิชัย นริพทะพันธุ์
125. นางนลินี ทวีสิน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จักพรรคประชาธิปัตย์

เวลาที่ผ่านไป

รัฐธรรมนูญฉบับแรก