รู้จักพรรคประชาธิปัตย์


พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[1] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา

สัญลักษณ์ของพรรค

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่สอง ได้บัญญัติชื่อ "พรรคประชาธิปัตย" โดยมีความหมายว่า "ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย" หรือ "ประชาชนผู้ถืออำนาจอธิปไตย" และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Democrat Party โดยหมายจะให้เป็นพรรคของคนจน เช่นเดียวกับพรรคเดโมแครตของสหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ "ประชาธิปัตย์" ได้มีกลุ่มบุคคลพยายามจดทะเบียนชื่อพรรคก่อนหน้า ม.ร.ว.เสนีย์ แต่รวบรวมเสียงได้น้อยกว่า จึงจดทะเบียนไม่สำเร็จ[3] เนื่องจากในปีนั้น เพิ่งมีกฎหมายจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการออกมาเป็นครั้งแรก โดยที่ก่อนหน้านั้น สถานภาพพรรคการเมืองในประเทศไทยยังไม่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เพียงแต่กฎหมายให้การรับรองไว้เท่านั้น
สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม มีฟ่อนข้าวประดับอยู่เป็นขอบ โดยมีความหมายว่า พระแม่ธรณีบีบมวยผม หมายถึง การเอาชนะมารหรือความชั่วร้ายต่าง ๆ ฟ่อนข้าว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวมีที่มาจากการที่พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดปราศรัยที่สนามหลวงแล้วฝนเกิดตกลงมา แต่ผู้ที่มาฟังไม่มีใครวิ่งหลบเลย ยังคงนั่งฟังกันต่อ จึงมีผู้ปรารภขึ้นมาว่า น่าจะใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับน้ำ ต่อมานายควงได้จัดรถช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วมที่ภาคเหนือ ที่ข้างรถตู้คันหนึ่งมีสัญลักษณ์รูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมติดอยู่ จึงนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์พรรค
สีประจำพรรค คือ สีฟ้า มีความหมายถึง อุดมการณ์อันบริสุทธิ์

ประวัติ

นายควง อภัยวงศ์ ได้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นเมื่อ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยการประชุมรวมตัวกันของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่บริษัทของนายควง ที่ย่านเยาวราช แต่ทางพรรคถือเอาวันที่ 6 เมษายน เป็นวันก่อตั้งพรรค เพื่อให้ตรงกับวันจักรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านคานอำนาจของ นายปรีดี พนมยงค์ ที่หลายฝ่ายในขณะนั้นมองว่าจะส่อเค้าเป็นเผด็จการ ต่อมานายปรีดีลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังถูกกดดันจากกรณีสวรรคต ร.8 และรัฐสภาลงคะแนนให้ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้ใกล้ชิดนายปรีดี ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีสืบต่อ
ในช่วงปี พ.ศ. 2489 ที่ประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.ร.ต.ถวัลย์ ยาวนานถึง 7 วัน 7 คืนติดต่อกัน รวมถึงการหาเสียงในเดือนสิงหาคมด้วย ในระหว่างนี้พรรคประชาธิปัตย์ถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลโดยกล่าวหาว่าเป็นกบฏ มี ส.ส. ถูกติดตามและถูกลอบยิง และในการหาเสียงก็ถูกปาระเบิดด้วย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ถูกนายทหารฝ่ายจอมพล ป. ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารยึดอำนาจ นายควงได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ และมีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491 ผลการเลือกตั้งพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงมากที่สุดจึงได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลครั้งแรก
หลังจากนั้นพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีก 6 ครั้งจนถึงปัจจุบัน คือในปี พ.ศ. 2518, 2519 (2 ครั้ง) , 2535, 2540 และ 2551 ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล 4 ครั้ง และเป็นพรรคฝ่ายค้านอีกรวม 16 ครั้ง โดยเป็นพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในกรุงเทพมหานครทันที และครองจำนวนที่นั่งในกรุงเทพมหานครจนถึงปี พ.ศ. 2522 ทั้งนี้ ประชาธิปัตย์ยังเป็นพรรคแรกที่หาเสียงด้วยวิธีการปราศรัยด้วย โดยเริ่มใช้ตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนสิงหาคมปี พ.ศ. 2489
ในปี พ.ศ. 2550 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดทำ "โครงการยุทธศาสตร์ประเทศไทย" (Thailand Strategy Project หรือ TSP) ขึ้น โดยมี นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อรวบรวมข้อมูลทางวิชาการใน 19 ยุทธศาสตร์หลัก ใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนานโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ และจัดทำเป็นแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะกับชุมชนวิชาการและประชาชนที่สนใจทั่วไป ผ่านทางเว็บไซต์ www.thailandstrategy.com และเอกสารเผยแพร่ของโครงการ
ในปี พ.ศ. 2551 ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็น "พรรคฝ่ายค้านพรรคเดียว" เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และผู้นำฝ่ายค้าน ได้ประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา ขึ้นตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาลและนำเสนอแนวทางการบริหารประเทศ ควบคู่ไปกับการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบรัฐบาลเงาในระบบเวสต์มินสเตอร์ของประเทศอังกฤษ ขึ้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลัง พรรคพลังประชาชน ถูกพิพากษายุบพรรคจาก คดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 ทำให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี คนที่ 27 ของประเทศไทย จาก การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ของสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548

พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีคะแนนเสียงอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร โดยมีจำนวนที่นั่ง 96 ที่นั่ง (จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง) มีฐานเสียงใหญ่อยู่ที่ภาคใต้ ใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้เสียงจากภาคใต้ถึง 52 ที่นั่งจาก 54 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามพรรคไม่ได้รับการสนับสนุนมากนักในส่วนอื่น ๆ ของประเทศ (ยกเว้นในเขตกรุงเทพมหานคร ที่คะแนนเสียงแปรผันไปตามสถานการณ์ทางการเมืองแต่ละสมัย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 พรรคฯ ได้เสียงจากกรุงเทพเพียง 4 ที่นั่ง จาก 37 ที่นั่ง โดยที่พรรคคู่แข่งคือ พรรคไทยรักไทย ได้ถึง 32 ที่นั่ง) ลักษณะเช่นนี้เหมือนกับพรรคเสรีนิยมของสหราชอาณาจักรที่ผู้สนับสนุนอย่างเหนียวแน่นส่วนใหญ่จะอยู่ในแคว้นสก็อตแลนด์ คือเป็นลักษณะภูมิภาคนิยม ดังจะเห็นได้ชัดเจนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนสูงถึง 136 ที่นั่ง แต่พรรคได้รับเลือกเพียง 2 ที่นั่งเท่านั้น
ในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน จากประชาชนทั่วประเทศ ในระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 7,210,742 เสียง
โดยการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 นั้น พรรคประชาธิปัตย์ได้ใช้แนวทางการหาเสียงว่า "เลือกให้ถึง 201 ที่นั่ง" และ "ทวงคืนประเทศไทย" อันเนื่องจากต้องการสัดส่วนที่นั่งในสภาฯให้ถึง 200 ที่ เพื่อที่ต้องการจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 นั่นเอง

คณะกรรมการบริหารพรรคชุดปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคใหม่ตามข้อบังคับพรรค โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานในการประชุม ซึ่งการเลือกครั้งนี้ได้ลดจำนวนคณะกรรมการบริหารจากเดิม 49 คน เหลือเพียง 19 คน โดยการเลือกตั้งได้เปิดโอกาสให้สมาชิกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งต่าง ๆ และให้มีการลงคะแนนลับ เพื่อให้ได้รับเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามข้อบังคับพรรค ได้ผลการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคดังนี้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้า
นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ รองหัวหน้าพรรค
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองหัวหน้าพรรค
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองหัวหน้าพรรค
นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรค กรุงเทพมหานคร
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รองหัวหน้าพรรค ภาคเหนือ
นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รองหัวหน้าพรรค ภาคกลาง
นายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรค ภาคใต้
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค
นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค
นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู รองเลขาธิการพรรค
นายธีระ สลักเพชร รองเลขาธิการพรรค
นางอัญชลี วานิช เทพบุตร เหรัญญิกพรรค
นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรค
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
นาย บุญยอด สุขถิ่นไทย รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ นายทะเบียนสมาชิกพรรค
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรค
นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรค
นายวิรัช ร่มเย็น กรรมการบริหารพรรค
กรรมการสำรอง
นายนราพัฒน์ แก้วทอง

ข้อมูลจาก http://th.wikipedia.org/wiki/



นโยบายพรรค

ครอบครัวต้องเดินหน้า
1. ไฟฟ้าฟรีถาวร สำหรับผู้ใช้ไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน
2. จัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด จัดตั้งกองกำลังพิเศษ 2,500 นาย
3. มอบเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ทุกคนทุกเดือน
4. โครงการบ้านมั่นคง (ซ่อมแซม จัดสาธารณูปโภค และสร้างบ้านใหม่)ของชุมชนแออัดในเมือง และหมู่บ้านทั่วประเทศ
5. บัตรประชาชนใบเดียว รักษาฟรีอย่างมีคุณภาพ
6. เพิ่มเงินทุนกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำเพื่อการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 250,000 คน
7. พัฒนาศูนย์เด็กเล็กคุณภาพในทุกพื้นที่

เศรษฐกิจต้องเดินหน้า
1.เพิ่มเงินกำไรอีกร้อยละ 25 จากโครงการประกันรายได้เกษตรกร (ชาวนา ชาวไร่ข้าวโพด ชาวมันสำปะหลัง)
2.ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำร้อยละ 25 ในเวลา 2 ปี พร้อมพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน
3.จัดโฉนดชุมชนให้เกษตรกรมีที่ทำกินอีก 250,000 คน บนที่ดินของรัฐ
4. ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และสร้างโอกาสใหม่แก่ชีวิตของประชาชนให้ครบ 1 ล้านคน
5.ขยายประกันสังคมสำหรับเกษตรกรและแรงงานนอกระบบให้ครอบคลุม 25 ล้านคน เพื่อรับเงินชดเชยรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และบำเหน็จชราภาพ
6.จัดให้มีบำนาญประชาชนหลังอายุ 60 ปี โดยรัฐร่วมสมทบในกองทุนการออมแห่งชาติ
7.พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างสินค้าและบริการ บนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยงบประมาณ 20,000 ล้านบาท

ประเทศต้องเดินหน้า
1.รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เชื่อมคุณหมิง ภาคอีสานสู่ภาคใต้เชื่อมต่อไปยังมาเลเซียเพื่อพัฒนาการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว
2.สร้างแหลมฉบังให้เป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ (Harbor City) พร้อมรถไฟความเร็วสูง เชื่อมกรุงเทพ แหลมฉบังและระยอง และเครือข่ายโลจิสติก ด้วยเงินลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท
3.พลิกโฉมเมืองท่องเที่ยวตลอดชายฝั่งทะเลภาคใต้ และแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยเป็น “มนตร์เสน่ห์แห่งเอเชีย” (The Rhythm of Asia) ด้วยเงินลงทุน 10,000 ล้านบาทต่อปี
4.ขยายบรอดแบนด์แห่งชาติ 3G อินเตอร์เน็ทชุมชน สู่ทุกตำบลทั่วประเทศ ภายใน 4 ปี
5.สร้างเขตเศรษฐกิจเกษตรพิเศษ เพื่อจัดระบบการผลิต การแปรรูป และการตลาดสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพ และมูลค่าสูง
6.เดินหน้าต่อในการบริหารจัดการแหล่งน้ำทั่วประเทศ ขยายพื้นที่ชลประทาน เพิ่มปริมาณน้ำ อุตสาหกรรม และขยายประปาชุมชน
7.เร่งจัดหาพลังงานทดแทน เพิ่มขึ้น 1 เท่าตัวจาก พืชพลังงาน ลม แสงอาทิตย์ ชีวภาพ และขยะ

กรุงเทพต้องเดินหน้า
1.เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
2.กวาดล้างยาเสพติด
3.ครอบครัวมั่นคง
4.เดินทางสะดวก

เมืองไทย มนต์เสน่ห์แห่งเอเซีย
1.ทุ่มงบประมาณ 10,000 ล้านบาท/ปี พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศให้สมบูรณ์ ด้วยสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานกว่า 60 จังหวัด
2.รอยยิ้มไทย เชื่อมท่องเที่ยวโลก : อบรมบุคลากร-ผู้ประกอบการท่องเที่ยวกว่า 150,000 คน เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวอย่างมืออาชีพ ด้วยงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท/ปี
3.คุณภาพนักท่องเที่ยว เพิ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพให้มากขึ้น เช่น กลุ่มนิเวศน์ กลุ่มประชุม กลุ่มกีฬา กลุ่มสุขภาพ กลุ่มวัฒนธรรม / ประวัติศาสตร์
4.เสน่ห์ไทยเที่ยวเท่าไรไม่มีวันหมด
กลุ่มมหัศจรรย์สองสมุทร :
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 2 ฝั่ง อันดามัน-อ่าวไทย พร้อมสิ่งรองรับระดับมาตรฐานโลก เปิดประตูท่องเที่ยวไทยเชื่อมโลก
กลุ่มอารยธรรมอีสาน - ลุ่มน้ำโขง :
พัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายอารยธรรมที่เชื่อมต่อวิถีชีวิตลุ่มน้ำโขงอย่างรังสรร
กลุ่มอารยธรรมล้านนา :
พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ อาเซียน พม่า-จีน
กลุ่มวิถีลุ่มน้ำเจ้าพระยา :
สืบสานและพัฒนาวิถีไทยให้โดดเด่น “เมืองอู่ข้าวอู่น้ำ”ที่ร่มเย็นเชื่อมต่อมรดกโลกอยุธยา
กลุ่มท่องเที่ยวชายฝั่งตะวันออก :
ยกระดับมาตรฐานสาธารณูปโภค แหล่งท่องเที่ยวสู่สากล การให้บริการด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ

รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน อีสานจรดใต้
1. เดินทางสะดวกสบายและปลอดภัย ลดเวลาเดินทางกว่าครึ่ง เลิกทนกับความแออัด ล่าช้า เลิกเสี่ยงกับอุบัติเหตุ โดยเฉพาะช่วงเทศกาล
2. สร้างรายได้ กระจายความเจริญสู่ท้องถิ่น เพิ่มการจ้างงานที่ต่อเนื่องกับการลงทุนก่อสร้าง นำสินค้าเกษตรไทยสดใหม่ สู่ตลาดจีน แหลมฉบัง มาเลเซีย สิงคโปร์ได้รวดเร็ว เปิดตลาดใหม่ ให้ธุรกิจและSME ค้าขายสะดวกขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน และที่ดินตลอดเส้นทาง
3. สร้างความเข้มแข็ง เพิ่มขีดความสามารถให้เศรษฐกิจไทย สร้างความได้เปรียบให้ไทย จากการเป็นศูนย์กลางอาเซียน เพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง ลดต้นทุน ลดเวลา ลดพลังงาน ลดมลภาวะ

เมืองท่าแหลมฉบัง
1.เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของเศรษฐกิจไทยเป็น ASEAN GATEWAY นำไทยเข้าสู่ระบบการค้าเสรี ประชาคมอาเซียน และการแข่งขันสากล ลดต้นทุนการขนส่ง/โลจิสติกส์ สร้างโอกาสใหม่ๆให้ SME และแรงงานไทย
2.พัฒนา ภาคตะวันออก ของประเทศอย่างยั่งยืน สร้างแหลมฉบังเป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ ( Harbour City ) พลิกโฉม มาบตาพุด เป็นเมืองอุตสาหกรรมสะอาด ( Eco-Town ) พัฒนาศักยภาพเมืองพัทยา เป็นศูนย์บริการครบวงจรรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจภาคตะวันออก
พร้อมรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มจากอู่ตะเภา และรถไฟความเร็วสูง
3.ลงทุน 100,000 ล้านบาท สร้างเมืองท่าสมบูรณ์แบบ ปฏิรูปผังเมืองและจัดสภาพแวดล้อมเมืองแหลมฉบังให้สะอาด ครบครัน ด้วยสาธารณูปโภค โรงเรียน โรงพยาบาล รถประจำทาง ระบบน้ำประปา ศูนย์การค้า สันทนาการ และที่อยู่อาศัยเป็นสัดส่วน ปรับโครงข่ายเชื่อมโยงการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ทั้งถนน รถไฟรางคู่ เชื่อมโยงรถไฟไทย-จีน เพิ่มศูนย์บรรจุและคัดแยกสินค้า ( ICD ) เพิ่มศักยภาพท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังให้เป็นท่าเรือที่ใหญ่และทันสมัยระดับ มาตรฐานโลก ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยบริหารร่วมกับเอกชน
4.ยกมาตรฐานการเดินทางสู่ภาคตะวันออก สร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง โดยเชื่อมต่อจาก สุวรรณภูมิ และขั้นต่อไป ขยายสู่จันทบุรี-ตราด ( เอกชนลงทุน ) ปรับปรุงเสริมประสิทธิภาพสนามบินนานาชาติ อู่ตะเภา

ข้อมูลจาก http://campaign.democrat.or.th/policy




รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์

1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2.นายชวน หลีกภัย
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
4.นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.นายกรณ์ จาติกวณิช
7. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
8.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์

11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.นายสุทัศน์ เงินหมื่น
18.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
19.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.นายวิฑูรย์ นามบุตร

21.นายถวิล ไพรสณฑ์
22.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
24.นายสุวโรช พะลัง
25.ดร.ผุสดี ตามไท
26.นายปัญญวัฒน์ บุญมี
27.ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.นายภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นายนิพนธ์ บุญญามณี

31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.นายโกวิทย์ ธารณา
33.นายอัศวิน วิภูศิริ
34.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.นายเกียรติ สิทธิอมร
36.นายบุญยอด สุขถิ่นไทย
37.ดร.กนก วงศ์ตระหง่าน
38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
39.นายสุกิจ ก้องธรนินทร์
40. ดร.ประกอบ จิรกิติ

41.ผศ.ดร.พีรยศ ราฮิมมูลา
42.นายกษิต ภิรมย์
43.ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล
44.นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
45.นายวัชระ เพชรทอง
46.นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์
47.นายอิสรา สุนทรวัฒน์
48.นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
49.นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต
50.นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์

51.ดร.มณทิพย์ ศรีรัตนา
52.น.ส.เฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์
53.นายดนัย นพสุวรรณวงศ์
54.ดร.ธิติ มหบุญพาชัย
55.นายเฉลียว อยู่สีมารักษ์
56.นายสุรสิทธิ์ ตรีทอง
57.นายยุพ นานา
58.นายสะพรั่ง สุขขเวชชวรกิจ
59.นายสัญชัย อินทรสูต
60. นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์

61.นายบุณย์ธีร์ พานิชประไพ
62. ผศ.ดร.สืบแสง พรหมบุญ
63.ว่าที่ ร.ต.โมฮามัดยาสรี ยูซง
64.นายอภชัย เดชะอุบล
65.ดร.วีระชัย ถาวรทนต์
66.นายอภินันท์ ช่วยบำรุง
67.นายประกอบ สังข์โต
68.นายเกรียงยศ สุดลาภา
69.นายสุริยะ ศึกษากิจ
70.พล.ร.อ.นาวี ศานติกะนาวิน

71.นายชีวเวช เวชชาชีวะ
72.นายธัชพงศ์ ธรรมพุฒิพงศ์
73.ดร.ธราดล เปี่ยมพงศ์สานต์
74.นายพรพล เอกอรรถพร
75.นายฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ
76.นายสุรัตน์ เมฆะวรากุล
77.นายคำรณ ณ ลำพูน
78.นายวัชรินทร์ เกตะวันดี
79.นายจีรพงศ์ พวงทอง
80.นายราเมศ รัตนะเชวง

81.นางรักษ์หฤทัย ยกสุฤทัยไขข่าว
82.นายวรเทพ สุวัฒนพิมพ์
83.พ.อ.เพื่องวิชช์ อนิรุทธเทวา
84.นายภูเบศ จันทนิมิ
85.นายแสนคม อนามพงษ์
86.นายสุธรรม นทีทอง
87.นายสรวิศ ขุนจันทร์
88.นายภูมิสรรค์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
89.นายพิเชษฐ ฤกษ์ปรีชา
90.นายสุธี กรกมลพฤกษ์

91.นายสกลภัทร เหมือนจันทร์เชย
92.นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม
93.พล.ร.ท.เชษฐ โกมลฐิติ
94.นายประจักษ์ชัย ณ สงขลา
95.นายสกล เขมะพรรค
96.นายสำเร็จ ภูนิคม
97.น.ส.จันทรพร ขันโมลี
98.นายสมเกียรติ ฉันทวานิช
99.นางเตือนใจ นูอุปละ
100.นายจารุพงศ์ สมอารยพงศ์

101.นายภราดร กลางบุรัมย์
102.นายสุทัศน์ พรหมรัตน์
103.นายประสงค์ สุภาสัย
104.นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์
105.นายพลวัฒน์ เล็กสมบูรณ์ไทย
106.นายปราโมทย์คริษฐ ธรรมคุณากร
107.นายมงคลลัตถ์ พุกะนัดด์
108.นายธวัช มนูธรรมธร
109.นายกษิเดช กุลจิตติพร
110.นายขกัช นิมมานเหมินท์

111.นพ.วัชระ สนธิชัย
112.นายรัฐไกร เอกเพชร
113.นายเอกมล อนันตกูล
114.นายวิศิษฎ์ ประทุมสุวรรณ
115.พล.อ.ณรงค์ มหาคุณ
116.นายชุบ ชัยฤทธิไชย
117.นายมาร์โค เจริญใจ
118.นายครูนิตย์ ปิงเมือง
119.พ.ต.ท.วิชิต ศรีไชยวาน
120.ดร.จักรพันธ์ พรนิมิตร

121.น.ส.ปานระพี ปรีปุณณะชัย
122.นางจันทร์เพ็ญ ปรีปุณณะชัย
123.นายฐิติพงศ์ ภูมิโยธา
124.นางนิภา พริ้งศุลกะ
125.นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ



วิจารณญาณของท่านมีส่วนร่วมในทางการเมือง และเป็นตัวชี้นำแนวทางที่ต้องการให้ประเทศก้าวต่อไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาคน พัฒนาสังคมและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน สามารถทำให้เห็นผลได้จริง ตามวิถีทางของประชาธิปไตยที่แท้จริง

ไม่ใช่ด้วยระบอบเผด็จการทหาร
ไม่ใช่ด้วยระบอบเผด็จการรัฐสภา
ไม่ใช่ด้วยระบอบทุนนิยม
ไม่ใช่ด้วยตัณหา ความอยากได้ไม่รู้จบในผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ไม่ใช่ด้วยความอยากจะเอาชนะเพราะลุ่มหลงในตัวเอง ว่าเก่งเกินคนทั้งประเทศ

เพราะถ้าประเทศชาติมีแต่คนเก่งอย่างนี้ ก็อย่ามีประเทศเสียเลยจะดีกว่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เวลาที่ผ่านไป

รัฐธรรมนูญฉบับแรก