บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2011

รู้จักพรรคประชาธิปัตย์

รูปภาพ
พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[1] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา สัญลักษณ์ของพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนที่สอง ได้บัญญัติชื่อ "พรรคประชาธิปัตย" โดยมีความหมายว่า "ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย" หรือ "ประชาชนผู้ถืออำนาจอธิปไตย" และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Democrat Party โดยหมายจะให้เป็นพรรคของคนจน เช่นเดียวกับพรรคเดโมแครตของสหรัฐอเมริกา โดยก่อนหน้าที่จะใช้ชื่อ "ประชาธิปัตย์" ได้มีกลุ่มบุคคลพยายามจดทะเบียนชื่อพรรคก่อนหน้า ม.ร.ว.เสนีย์ แต่รวบรวมเสียงได้น้อยกว่า จึงจดทะเบียนไม่สำเร็จ[3] เนื่องจากในปีนั้น เพิ่งมีกฎหมายจดทะเบียนพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการออกมาเป็นครั้งแรก โดยที่ก่อนหน้านั้น สถานภาพพรรคการเมืองในประเทศไทยยังไม่มีการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการ เพียงแต่กฎหมายให้การรับรองไว้เท่านั้น สัญลักษณ์ของพรรคเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม

รู้จักพรรคเพื่อไทย

รูปภาพ
พรรคเพื่อไทย พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม สัญญลักษณ์เดิมขของพรรค สัญลักษณ์ของพรรค เครื่องหมายพรรคมีคำอธิบายว่า "การรู้รักสามัคคีและรวมกันเป็นพลังอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติ" ขณะที่ภาพเครื่องหมายพรรค ภายใต้รูปสัญลักษณ์เป็นตัวอักษรไทย "พ" สีขาวบนพื้นสีน้ำเงินกับแดง ล้อมด้วยกรอบสี่เหลี่ยมเส้นสีน้ำเงินและแดง โดยตัว "พ" สีขาว หมายถึง การรู้รักสามัคคีและรวมกันเ

ทางสายการเมือง

รูปภาพ
จากบรรดาหลักฐานทางโบราณคดีและบันทึกจากประวัติศาสตร์ เชื่อว่าความตื่นตัวในทางการเมืองของบ้านเราก่อกำเนิดขึ้นมาจากวิชาการและความรู้ที่ได้รับการบอกเล่ามาจากบรรดาชาวต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศเราตั้งแต่ยุคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จากจุดเริ่มต้นด้วยการศึกษาภาษาต่างประเทศรวมไปถึงความรู้ในด้านอื่นๆ จากชาวต่างชาติ ซึ่งหลายคนก็ได้รับการแต่งตั้งให้มียศฐาบรรดาศักดิ์เป็นสิ่งตอบอทน ทำให้ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มมากขึ้นทั้งจากราชสำนัก ทั้งจากการประกอบธุรกิจส่วนตัวในการค้าขายกับต่างประเทศ จึงทำให้ มีฐานะทางสังคมสูงส่งกว่าคนไทยโดยทั่วไป ในยุคกลางของกรุงรัตนโกสินทร์ก็เริ่มมีการส่งคนในประเทศข้ามน้ำข้ามทะเลไปเข้ารับการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้น ป็นการเริ่มต้นร่างแนวความคิดในระบอบการปกครองที่เป็นรูปแบบใหม่และกำลังระบาดหนักอยู่ในประเทศตะวันตกจากการลุกฮ์อของประชาชนเพื่อล้มล้างระบอบกษัคริย์ในหลายประเทศติดต่อกัน ความสับสนลังเลเกี่ยวกับระบอบการปกครองรูปแบบใหม่ๆ ก่อให้เกิดปัญหาติดตามมาหลายประการ จนมาถึงยุคสมัยของ คณะราษฎร กับวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อันเป็นการเปิดตัวระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาในบ้านเราอย่าง