เดินตามข่าว


          "เดินตามข่าว" ไม่ได้หมายความว่าผมจะเดินตามข่าวจริงตามที่เขียนไว้เพราะคงไม่มีมนุษย์หน้าไหนที่จะเดินตามกระแสสังคมได้หมดทุกเรื่อง และคำว่าข่าวก็กว้างเกินกว่าที่มนุษย์หน้าไหนจะรู้ความหมายของมัน นอกจากผู้ที่ต้องทำมาหารับประทานกับการข่าวในทุกรูปแบบ ทั้งด้วยวิธีการทำมาหากินด้วยการตกเป็นข่าว  การเอาตัวให้อยู่รอดปลอดภัยด้วยการปั้นข่าว หรือการกระจายข่าวอันเป็นเท็จเพื่อให้ผู้คนหลงประเด็นแล้วก็เกิดผลเสียหายกับสังคมโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมไทย จนเกือบจะเคยชิน
           แต่ที่จะพูดถึงก็คือบทบาททาการเมืองของ "นักการเมืองอาชีพ" ที่มีการแบ่งออกเป็นฝักเป็นฝ่ายอย่างขัดเจน และชูนโยบายยึดมั่นในตัวบุคคลเป็นหลักมากกว่าการยึดถือประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกอ่อนล้าในอารมณ์อย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อน มีความรู้สึกถึงความอ่อนแอในความเป็นประชาธิปไตยของประเทศที่พยายามก้าวผ่านจากเงื้อมมือของเผด็จการมาอย่างยากเย็น ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่หลุดพ้น แต่นักการเมืองส่วนมากยังคงอาศัย "ประชาธิปไตย" เป็นช่องทางทำมาหากิน มีการรวมตัวเป็นกลุ่มการเมืองโดยตั้งเป็น "พรรคการเมือง" เป็นที่รวบรวมบุคคลหลากหลายจุดกำเนิด และอาศัยเหตุผลที่ีแจ้งว่ามีอุดมการณ์ทางการเมืองร่วมกัน มีจุดหมายที่สอดคล้องกัน ชูขึ้นเป็นนโยบายที่ชัดเจนด้วยตัวอักษร แต่เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างก้าวไป กลับกลายเป็นเพียงการรวมตัวกันของผู้ที่มีความเห็นพ้องกันทางผลประโยชน์เท่านั้น
         จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.20550 มาตรา ๑๒๑ ในการที่วุฒิสภาจะพิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้วุฒิสภาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งนั้น รวมทั้งรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานอันจำเป็น แล้วรายงานต่อวุฒิสภาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป
         มาตรา ๑๓๔ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจตราข้อบังคับการประชุมเกี่ยวกับการเลือกและการปฏิบัติหน้าที่ของประธานสภา รองประธานสภา เรื่องหรือกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการสามัญแต่ละชุด การปฏิบัติหน้าที่และองค์ประชุมของคณะกรรมาธิการ วิธีการประชุมการเสนอและพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติ การเสนอญัตติการปรึกษา การอภิปราย การลงมติ การบันทึกการลงมติ การเปิดเผยการลงมติ การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปรายทั่วไป การรักษาระเบียบและความเรียบร้อย และการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีอำนาจตราข้อบังคับเกี่ยวกับประมวลจริยธรรมของสมาชิกและกรรมาธิการ และกิจการอื่นเพื่อดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
         มาตรา ๑๓๕ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญ และมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวต้องระบุกิจการ
หรือเรื่องให้ชัดเจนและไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน
คณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่งมีอำนาจออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ และให้คำสั่งเรียกดังกล่าวมีผลบังคับตามที่กฎหมายบัญญัติแต่คำสั่งเรียกเช่นว่านั้นมิให้ใช้บังคับกับผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในกระบวนวิธีพิจารณาพิพากษาอรรถคดีหรือการบริหารงานบุคคลของแต่ละศาล และมิให้ใช้บังคับกับผู้ตรวจการแผ่นดินหรือกรรมการในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยตรงในแต่ละองค์กรตามรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่บุคคลตามวรรคสองเป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ให้ประธานคณะกรรมาธิการแจ้งให้รัฐมนตรีซึ่งบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดทราบและมีคำสั่งให้บุคคลนั้นดำเนินการตามวรรคสอง เว้นแต่เป็นกรณีที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน ให้ถือว่าเป็นเหตุยกเว้นการปฏิบัติตามวรคสอง
เอกสิทธิ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๐ นั้น ให้คุ้มครองถึงบุคคลผู้กระทำหน้าที่ตามมาตรานี้ด้วย
กรรมาธิการสามัญซึ่งตั้งจากผู้ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ต้องมีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมืองหรือกลุ่มพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร..........
          บอกตรงๆ ว่าอ่านเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับกรรมาธิการแล้วเวียนหัวมากๆ ดู้หมือนจะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของกฎหมายว่าจะต้องเขียนให้วกวน อ่านแล้วจะต้องมีการตีความตามอารมณ์ ตามความรู้สึก หากตกลงกันไม่ได้ก็ต้องส่งให้ ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เท่านั้นยังไม่จบ ยังมีการตีความผลการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญกันอีกหากจำเป็น เฮ้อ มิน่าล่ะ ถึงอยากเป็นนักการเมืองกันเหลือเกิน
          ความจริงนั้นสามารถเห็นได้จากการนำเสนอข่าวสารโดยทั่วไปของสื่อมวลชน ว่าคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับเรื่องนั้นเรื่องนี้เสนออย่างนั้นอย่างนี้ เห็นควรทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่คิดแบบมนุษย์โดยทั่วไปแล้วก็จะเห็นว่าคณะกรรมธิการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาโดยรัฐสภานั้น เป็นการรวบรวมกลุ่มบุคคลจากพรรคการเืมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เพื่อพิจารณา ตรวจสอบ ควบคุมกำกับดูแล การทำงานของหน่วยงานของรัฐเกี่ยวกบเรื่องนั้นๆ อย่างถูกต้องตามหลักการ ซึ่งในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจัดตั้งคณะกรรมธิการขึ้นมากลับเป็นเสมือนการยื่นดาบยัดเข้าใส่มือนักการเมืองไร้ชื่อให้มีฤทธิ์มีเดชขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล หากใครจะคัดค้านก็ไม่ว่าอะไร เพราะมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ ในสังคมบ้านเรา
          ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะเห็นไอ้เด็กเมื่อวานซืน เกะกะเกเร ใกล้ถึงระดับคนประเภทเกิดมารกแผ่นดินเมื่อหลายปีที่ผ่านมา กลับกลายเป็นนักการเมืองผู้องอาจมาดใหญ่เหนือมนุษย์เดินดินในวันนี้ ด้วยสาเหตุเพียง 3 ประการ คือ
1. ด้วยนามสกุลที่มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด
2. ด้วยทรัพย์สินเงินทองที่มีเพิ่มขึ้นทวีคูณอย่างไม่มีเหตุผล
3. ด้วยการเก็บงำความลับที่สำคัญของผู้ใหญ่ของบ้านเมืองบางคนไว้ในมือ

           โลกไม่ได้เป็นของเรา แต่สำหรับบ้านเมืองนี้ตัวของเรายังคงมีอำนาจในความเป็นเจ้าของ ตามที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 7 ท่านมีกระแสพระราชดำรัสไว้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รู้จักพรรคประชาธิปัตย์

เวลาที่ผ่านไป

คุณบุญรอด